วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

ทดสอบกลางภาคเรียน


คำชี้แจง
ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้
ทำลงในบล็อกของนักศึกษาเขียนหัวข้อเหมือนอาจารย์ (100 คะแนน)

1.กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
ตอบ 
กฎหมาย  หมายถึงคำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์  ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด หรือรัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้นผู้ใดฝ่าฝืน มีสภาพบังคับ
         การบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่ามนุษย์ย่อมได้รับการรับรองและคุ้มครองจากกฎหมายอย่างเท่าเทียมกันในฐานะที่เป็นมนุษย์โดยมิต้องคำนึงถึงคุณสมบัติอื่นๆ อาทิเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ถิ่นกำเนิด เป็นต้น และขณะเดียวกันการรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสามารถนำมาตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐไม่ว่าจะเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการได้

2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
ตอบ  เห็นด้วย เพราะการที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับบุคลที่ต้องการจัดการศึกษาให้กับประชาชนทุกคนเพราะหากบุคลเหล่านี้มีใบประกอบวิชาชีพแล้วจะสอนคนให้เก่งทั้งทางด้านร่างกาย  สติปัญญา จิตใจ และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขได้อย่างไร หากบุคลเหล่านี้ไม่เป็นแบบอย่างที่ดี ไม่เป็นคนดีและไม่มีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาทั้งทางด้านการเรียนรู้ กระบวนการเรียนการสอนให้ก้าวทันสังคมโลก  ดังนั้นจำเป็นที่บุคคลเหล่านี้จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ

3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ 
หากมีการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะจัดงานเพื่อหาเงินเข้าสู่โรงเรียนโดยการจัดงานเพื่อการกุศลโดยให้ผู้ปกครอง ชาวบ้าน องค์กรเอกชน รัฐวิสาหกิจต่างๆ สถาบันศาสนา และสถาบันอื่นๆเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดงานและเข้ามีมีส่วนร่วมในการจัดหาแนวทางเพื่อนำทรัพยากรในท้องถิ่นมาใช้ในการศึกษาให้ได้ประโยชน์สูงสุดและไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรโดยใช้อย่างคุ้มค่าและมีการปลูกจิตสำนึกให้ทุกคนเห็นค่าของทรัพยากรในท้องถิ่น และจะนำหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารจัดการโรงเรียนและท้องถิ่นเพื่อให้ทุกคนอยู่อย่างมีความสุขที่เป็นไปตาม 3 ห่วง   เงื่อนไขของในหลวง

4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ   รูปแบบการจัดการศึกษา มี  3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
การศึกษาในระบบมี  2 ระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษา
1.             ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งต้องจัดอย่าง 12 ปี
1.1  การศึกษาก่อนระดับประถมศึกษา เป็นการจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่มีอายุ 3 – 6 ปี
 1.2  การศึกษาระดับประถมศึกษา โดยปกติใช้เวลาเรียน 6 ปี
 1.3  การศึกษาระดับมัธยมศึกษา แบ่งเป็น การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยปกติใช้เวลาเรียน 3 ปี และการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยปกติใช้เวลาเรียน 3 ปี แบ่งเป็นประเภทสามัญศึกษา และประเภทอาชีวศึกษา
2. ระดับการศึกษาอุดมศึกษา หรือหลังการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งจะแบ่งออกเป็นระดับต่ำกว่า
ปริญญา และปริญญา

5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ  การศึกษาภาคบังคับนั้นต่างจากการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่บังคับให้ประชาชนต้องเข้าเรียนแต่เป็นสิทธิ์ของคนไทย ส่วนการศึกษาภาคบังคับเป็นการบังคับให้เข้าเรียนถือเป็นหน้าที่ของพลเมือง ตามมาตรา 69 ของรัฐธรรมนูญ  และการศึกษาภาคบังคับ ทุกคนจำเป็นต้องเรียน 9 ปี คือ ตั้งแต่ประถมศึกษาที่ 1 ถึงมัธยมศึกปีที่ 3 แต่การศึกษาขั้นพื้นฐานจะต้องเรียน 12  ปี  คือ ตั้งแต่ประถมศึกษาที่ 1 ถึงมัธยมศึกปีที่ 6  และการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐาน  เหมือนกันที่เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย  วิธีการศึกษา หลักสูตร  ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและการประเมินผล  ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน

6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ    การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
(1) สำนักงานรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
(4) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(5) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
(6) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ส่วนราชการตาม (2) (3) (4) (5) และ (6) มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
ตอบ  
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ครู ผู้บริหารสถานศึกษาผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการจัดการศึกษาของชาติจึงต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะอย่างสูงในการประกอบวิชาชีพ มีคุณธรรมจริยธรรมและประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งมีคุณภาพและมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง จึงจำเป็นต้องตรากฎหมายเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูตามมาตรา ๘๑ ของรัฐธรรมนูญ , เพื่อปรับสภาในกระทรวงศึกษาธิการตามพระราชบัญญัติครู โดยกำหนดให้มี สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา และ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา , เพื่อสืบทอดประวัติศาสตร์และเจตนารมณ์ของการจัดตั้งคุรุสภาให้เป็นสภาวิชาชีพครูต่อไป

8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ  หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด
ตอบ  ไม่ผิด เพราะ ในพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางศึกษา พ..2546 ได้กำหนดไว้ว่าห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
(1) ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
(2) ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
(3) นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
(4) ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
(5) ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
(6) คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
(7) ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
(8) บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด


9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง
ตอบ  โทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คือ  บทลงโทษสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่ไม่ปฏิบัติตามหมวดที่ 6 วินัยและการรักษาวินัย ในพรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
            ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ต้องปฏิบิตตามที่ได้กำหนดไว้ใน มาตรา 82- มาตรา 97 หมวดที่ 6 วินัยและการรักษาวินัย พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551) ตัวอย่างเช่น
-              ต้องสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขการ
-              ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เสมอภาคและเที่ยงธรรม
-              ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการและหน่วยงานการศึกษา
-              ศึกษาต้องตรงต่อเวลา อุทิศเวลาของตนให้แก่ ทางราชการและผู้เรียน จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผล
-              ฯลฯ
          หากข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดฝ่าฝืนข้อห้ามหรือไม่ปฏิบัติตามที่ได้กำหนดไว้ใน มาตรา 82- มาตรา 97 หมวดที่ 6 วินัยและการรักษาวินัย พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551) ดังนั้นโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามี 5 สถาน คือ  ภาคทัณฑ์ , ตัดเงินเดือน , ลดขั้นเงินเดือน , ปลดออก และไล่ออก
 ผู้ใดถูกลงโทษปลดออก ให้ผู้นั้น มีสิทธิได้รับบาเหน็จบำนาญเสมือนว่า เป็นผู้ลาออกจากราชการ

10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก  เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน
ตอบ  เด็ก หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
          เด็กเร่ร่อน หมายความว่า เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ
          เด็กกำพร้า หมายความว่า เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดา มารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้
         เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก  หมายความว่า เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก เด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
         เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด หมายความว่า เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมาย
       ทารุณกรรม หมายความว่า การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใด ๆจนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพหรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระทำผิดทางเพศต่อเด็ก ทั้งนี้ ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น