วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 3



   1. ท่านคิดอย่างไร ถ้ารัฐธรรมนูณคือกฎหมายแม่บท และพระราชบัญญัติน่าจะเป็นอะไร จงอธิบายให้เหตุผล
ตอบ  ถ้ารัฐธรรมนูญคือกฎหมายแม่บท พระราชบัญญัติเป็นกฎหมายที่มีลำดับชั้นรองลงมาจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา เป็นกฎหมายหลักที่สำคัญที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน และพระราชบัญญัติก็เป็นกฎหมายที่บังคับใช้ได้กับประชาชนทุกคนในประเทศเหมือนกับรัฐธรรมนูญซึ่ง พระราชบัญญัติที่สำคัญที่รัฐสภาตราออกมาใช้บังคับ เช่น  พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ..2535   พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ .. 2535 เป็นต้น

   2. ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษากำหนดไว้อย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษา คือเราต้องจัดการศึกษาต้องเป็นเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

   3. หลักในการจัดการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  หลักในการจัดการศึกษาได้แก่
         1. เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน โดยประชาชนทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพ ความเสมอภาคในการเข้ารับการศึกษา และได้รับการสนับสนุนเงินในการศึกษาทุกท่าน
         2. ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยทุกสถานศึกษาต้องเปิดโอกาสให้สังคมหรือบุคคลอื่นมีสิทธิ์ในการจัดการศึกษาและมีส่วนร่วมในทุกๆเรื่องที่เกี่ยวกับการศึกษาให้กับประชาชนทุกคน
         3. การพัฒนาสาระ และกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยต้องมีการพัฒนาหลักสูตร พัฒนากระบวนการเรียนการสอน พัฒนาประชาชน และบุคลากรทางการศึกษา อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

   4. หลักในการจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ การจัดระบบ โครงสร้าง กระบวนการจัดการศึกษา ให้ยึดหลักดังนี้
        1. มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
        2. มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
        3. มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาและจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
       4. มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู  คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา และพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาอย่าต่อเนื่อง
       5. ระดมทรัพยากรจาดแหล่งต่างๆมาใช้ในการจัดการศึกษา
       6. การมีส่วนร่วมของบุคล  ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา  สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น
 
   5. สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  สิทธิและหน้าทีในการจัดการศึกษาที่กฎหมายกำหนดไว้มีดังนี้ คือ
        1. การจัดการศึกษาจะต้องจัดให้ทุกคนมีสิทธิและโอกาสเสมอภาคกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี และต้องจัดให้ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
        2. บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง มีหน้าที่ในการจัดให้บุตรหรือบุคคล ได้รับการศึกษาภาคบังคับ และตามความพร้อมของครอบครัว
        3. บิดามารดา ผู้ปกครอง ต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐทั้งการสนับสนุนให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาบุตรหลาน และได้รับเงินอุดหนุน ได้รับการลดหย่อนภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาที่กฎหมายกำหนด
      4. นอกเหนือจากรัฐ เอกชน และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ให้บุคล ครอบครัว  องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา  สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น มีสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และได้รับการสนับสนุนให้มีความรู้ ความสามารถในการเลี้ยงดูบุคคลให้อยู่ในความดูแลและได้รับเงินอุดหนุน ได้รับการลดหย่อนภาษีสำหรับค่าใช่จ่ายการศึกษาที่กฎหมายกำหนด

   6. ระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบันนี้มีกี่ระบบอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ ระบบการศึกษา มี  3 ระบบ คือ การศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการ หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของความสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน การศึกษาในระบบมี  2 ระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษา
การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความมีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย  รูปแบบวิธีการจัดการศึกษา  ระยะเวลาของการศึกษา กาสรวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนไดเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม  และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์  สังคม  สภาพแวดล้อม สื่อหรือแหล่งความรู้อื่น

   7. ท่านสามารถนำแนวการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างไร
ตอบ สามารถนำแนวการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้ไปสู่การปฏิบัติได้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุด การจัดการศึกษา ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้  คุณธรรม  กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องเกี่ยวกับตนเอง  และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม  ทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ศาสนา ทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษา ทักษะในการประกอบอาชีพ เนื้อหาสาระของหลักสูตรจะต้องพิจารณาระดับการศึกษา และความถนัดส่วนบุคคลมาประกอบด้วย หลักสูตรการศึกษาพื้นฐานก็ควรจะต้องมีองค์ประกอบที่เรียกว่า หลักสูตรแกนกลางที่เน้นตัวร่วมหรือค่านิยมร่วมระดับชาติ จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะ กระบวนการคิด และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน ผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ไว้ สนับสนุนให้บรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวก การเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่  มีการประสานความร่วมมือผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย จัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน  ความประพฤติ  การสังเกตพฤติกรรมการเรียน  การสอนวิชาชีพในท้องถิ่น การแสวงหาความรู้ สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระหว่างชุมชม 

   8. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 มีประเด็นใดบ้างและเหตุผลที่สำคัญในการแก้ไขคืออะไร
ตอบ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 มีการยกเลิก
 มาตรา  ให้ยกเลิกความมาตรา  แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
"มาตรา  ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริ สิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความรู้รักสามัคคี ปลูกจิตสำนึกความเป็นไทย มีระเบียบวินัย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนศาสนา 
ศิลปะวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ตลอดจนค่านิยมอันดีงาม ภูมิปัญญาท้องถิ่น การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง"
               และเหตุผลที่แก้ไขคือ โดยที่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วยการศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ซึ่งมีระบบการบริหารและการจัดการศึกษา  ของทั้งสองระดับรวมอยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ทำให้การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเกิดความไม่คล่องตัวและเกิดปัญหาการพัฒนาการศึกษา สมควรแยกเขตพื้นที่การศึกษาออกเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เพื่อให้การบริหารและการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ อันจะเป็นการพัฒนาการศึกษาแก่นักเรียนในช่วงชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ให้สัมฤทธิผลและมีคุณภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

   9. การที่กฎหมายกำหนดให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคลท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ  เห็นด้วย  กับการกำหนดให้สถานศึกษาเป็นนิติบุคคล เพราะกระทรวงกระจายอำนาจการบริหาร และการจัดการศึกษา  ทั้งด้านวิชาการ  งบประมาณ การบริหารงานบุคคลและการบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่โดยตรง จะทำให้สถานศึกษาคล่องตัว มีอิสระในการบริหารจัดการ  ตามหลักของการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  ซึ่งคาดหวังว่าจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับสถานศึกษาสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพได้มาตรฐานและสามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

   10. การที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใด ระดับหนึ่ง หรือทุกระดับตามความพร้อม ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ  เห็นด้วยเพราะ  การที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใด ระดับหนึ่ง หรือทุกระดับตามความพร้อมนั้นเพราะกฎหมายได้กำหนดไว้ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิเสรีภาพในการจัดอบรมเลี้ยงดู และจัดการศึกษาให้แก่บุคคล โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีส่วนร่วมในการกำหนดการเรียนการสอน หลักสูตรหรือจุดมุ่งหมายในการเรียนของแต่ละระดับได้ แต่ต้องเป็นไปตามจุดมุ่งหมายของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมได้รับเงินระดมทุนและค่าลดหย่อนในการจัดการศึกษาที่เกี่ยวกับบุคคลที่อยู่ในการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ

   11. หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ จากความหมายของการประกันคุณภาพภายใน จะเป็นการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบ
คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
1) การประกันคุณภาพภายในให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา และเป็นหน้าที่ของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา ที่ต้องดำเนินการอย่างมีระบบและต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงปรัชญา หลักการ วิสัยทัศน์ พันธกิจ และภารกิจ ของสถานศึกษาที่กำหนดไว้
2) จัดให้มีกลุ่ม ฝ่ายหรือคณะกรรมการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและผู้รับบริการ เพื่อการพัฒนาคุณภาพให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
3) พัฒนามาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาเพิ่มในส่วนที่เป็นลักษณะเฉพาะของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับท้องถิ่น
4) จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพและแผนปฏิบัติการของสถานศึกษาและดำเนินงานตามแผนดังกล่าว
5) ดำเนินการตรวจสอบ ติดตามเพื่อการพัฒนาคุณภาพให้เป็นไปตามเป้าหมายและมาตรฐานการศึกษา
6) จัดทำรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเสนอหน่วยงานต้นสังกัด ภาคีเครือข่ายและเผยแพร่ต่อสาธารณชน
7) รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาต่อคณะกรรมการสถานศึกษา และมีการกำหนดมาตรการร่วมกันในการพัฒนาสถานศึกษาไปสู่มาตรฐานการศึกษาที่กำหนด

   12. การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ ไม่เห็นด้วย เพราะการที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับบุคลที่ต้องการจัดการศึกษาให้กับประชาชนทุกคนเพราะหากบุคลเหล่านี้มีใบประกอบวิชาชีพแล้วจะสอนคนให้เก่งทั้งทางด้านร่างกาย  สติปัญญา จิตใจ และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขได้อย่างไร หากบุคลเหล่านี้ไม่เป็นแบบอย่างที่ดี ไม่เป็นคนดีและไม่มีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาทั้งทางด้านการเรียนรู้ กระบวนการเรียนการสอนให้ก้าวทันสังคมโลก  ดังนั้นไม่จำเป็นเลยที่บุคคลเหล่านี้จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ

   13. ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง
ตอบ หากมีการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะจัดงานเพื่อหาเงินเข้าสู่โรงเรียนโดยการจัดงานเพื่อการกุศลโดยให้ผู้ปกครอง ชาวบ้าน องค์กรเอกชน รัฐวิสาหกิจต่างๆ สถาบันศาสนา และสถาบันอื่นๆเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดงานและเข้ามีมีส่วนร่วมในการจัดหาแนวทางเพื่อนำทรัพยากรในท้องถิ่นมาใช้ในการศึกษาให้ได้ประโยชน์สูงสุดและไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรโดยใช้อย่างคุ้มค่าและมีการปลูกจิตสำนึกให้ทุกคนเห็นค่าของทรัพยากรในท้องถิ่น และจะนำหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารจัดการโรงเรียนและท้องถิ่นเพื่อให้ทุกคนอยู่อย่างมีความสุขที่เป็นไปตาม 3 ห่วง 2   เงื่อนไขของในหลวง

   14. ท่านมีแนวทางในการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ ต้องพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้สอดคล้องกับผู้เรียนเป็นสำคัญคือเราต้องทำแผนจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ โดยจะใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นมาช่วยคือให้ผู้เรียนสัมผัสเรียนรู้ได้ด้วยคนเองและเกิดองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง และต้องมีการพัฒนาสื่อการการเรียนรู้ให้ก้าวทันเทคโนโลยีและก้าวทันสังคมโลก เช่น นำอินเตอร์เนตมาใช้ในการสอน ตัวอย่างเช่น E-mail  Blogger   Facebook  E-learning  มาใช้ในการเรียน และทำสื่อการเรียนรู้จากเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้น่าสนใจและเป็นแรงดึงดูดให้ผู้เรียนสนใจ และสิ่งสำคัญคือเพื่อขับเคลื่อนสู่สังคมอาเซียน

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2



ให้นักศึกษาอ่าน 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550  แล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้

1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
ตอบ   มาตรา 99   บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
(1) มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
              (2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันที่ ๑ มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง และ
              (3) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งอยู่นอกเขตเลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาน้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง หรือมีถิ่นที่อยู่นอกราชอาณาจักรย่อมมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

          มาตรา 100   บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
              (1) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
              (2) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
               (3) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
             (4) วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

คุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ส.  มาตรา 101
               1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
               2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
               3. เป็นสมาชิกพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวนับถึงวันเลือกตั้ง ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในกรณีที่มีการเลือกตั้งทั่วไปเพราะเหตุยุบสภา ต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวเป็นเวลาติดต่อกัน
ไม่น้อยกว่า 30 วันนับถึงวันเลือกตั้ง
               4. ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ด้วย
                    (ก) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันสมัคร
รับเลือกตั้ง
                    (ข) เป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
                    (ค) เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปีการศึกษา
                    (ง) เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปี

  ลักษณะต้องห้ามของผู้สมัคร ส.ส. มาตรา 102
               1. ติดยาเสพติดให้โทษ
               2. เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
               3. เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตาม
                    มาตรา 100(1) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
                                   (2) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
                             หรือ(4) วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
               4. ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
               5. เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
หรือความผิดลหุโทษ
               6. เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่า
กระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
               7. เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น
ผิดปกติ
               8. เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำนอกจากข้าราชการการเมือง
               9. เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
               10. เป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงแล้วยังไม่เกินสองปี
               11. เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
               12. เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
แห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
               13. อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา 263

2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
ตอบ หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย  ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
              มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้อง จัดให้อย่าง   ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
              ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิตามวรรค หนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐ เพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
             การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ

              มาตรา 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
             การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน


3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
   
ตอบ   1. วันที่ 24 สิงหาคม  2550  ซึ่งเป็นวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2550
2.  คณะองคมนตรี พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 18 คนคณะองคมนตรี รวมไม่เกิน 19 คน
3. คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดิน ต้องชี้แจงนโยบายที่จะดำเนินการต่อรัฐสภาและต้องจัดทำรายงานแสดงผลการดำเนิน การเสนอต่อรัฐสภาปีละ 1 ครั้ง
4. สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิก จำนวน 480 คน  แบบแบ่งเขต 400 คน  แบบสัดส่วน 80 คน  จังหวัดใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ไม่เกิน 3 คน ให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง แต่ถ้ามีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกิน 3 คนให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้งแต่ละเขตมีสมาชิกได้ 3 คน

4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย
ตอบ   เราต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เนื่องจากเป็นสิ่งสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวันของทุกๆคน และรัฐธรรมนูญคือกฎหมายสูงสุดในประเทศไทย เราเป็นประชาชนคนไทย ควรจะมีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายสูงสุดของประเทศ เพื่อที่จะได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อตกลง ที่คนไทยต้องทำร่วมกัน เพื่อที่จะได้อยู่ร่วมกันได้ มีผลประโยชน์ร่วมกัน และต้องปฏิบัติหน้าที่ของตัวเองที่พึงกระทำ เพื่อที่จะได้รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง และเป็นหน้าที่ที่ทุกคนจะต้องรู้เพื่อประโยชน์ของตัวเอง

5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไม
ตอบ   ในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดิฉันคิดว่าไม่ควรแก้ไขเพราะว่าตอนนี้รัฐธรรมนูญก็เป็นกฎหมายสูงสุดที่สามารถบังคับใช้ได้ มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และทุกมาตราก็ให้สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ความเท่าเทียมกันแก่ประชาชนคนไทยทุกคน และหากมีการแก้ไขอีกก็จะมีความขัดแย้งขึ้นอีก เพราะอีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องการผลประโยชน์แก่ตนเอง จึงทำให้ประชาชนเดือดร้อนทั่วประเทศ
   
6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว
ตอบ   ไม่มีความมั่นคงหากอำนาจทั้งสามขาดสมดุล เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นคิดว่าเกิดจากการที่ไม่ยอมรับฟังเหตุผลซึ่งกันและกัน   ผู้ที่ถือกฎหมายไม่ทำตนเป็นกลาง   โดยส่วนมากจะนึกถึงแต่ประโยชน์ส่วนตน    ทำหน้าที่ของตนเองไม่เต็มที่อีกทั้งเพราะมั่วแต่คอยขัดขวางการทำงานของอีกฝ่าย  การประชุมสภาแต่ละครั้งก็มีการทะเลาะกันระหว่างประชุมและมีการประท้วงเพื่อประโยชน์ของตน อีกทั้งยังมีการแทรกแซงอำนาจกันจากปัญหาต่างๆมากมาย  บ้านเมืองไม่มีการพัฒนาขึ้น  เศรษฐกิจถดถอยลง  จึงมีความเห็นว่าไม่มีความมั่นคงที่จะรักษาเสถียรภาพต่อการบริหารบ้านเมือง