วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2



ให้นักศึกษาอ่าน 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550  แล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้

1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
ตอบ   มาตรา 99   บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
(1) มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
              (2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันที่ ๑ มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง และ
              (3) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งอยู่นอกเขตเลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาน้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง หรือมีถิ่นที่อยู่นอกราชอาณาจักรย่อมมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

          มาตรา 100   บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
              (1) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
              (2) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
               (3) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
             (4) วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

คุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ส.  มาตรา 101
               1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
               2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
               3. เป็นสมาชิกพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวนับถึงวันเลือกตั้ง ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในกรณีที่มีการเลือกตั้งทั่วไปเพราะเหตุยุบสภา ต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวเป็นเวลาติดต่อกัน
ไม่น้อยกว่า 30 วันนับถึงวันเลือกตั้ง
               4. ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ด้วย
                    (ก) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันสมัคร
รับเลือกตั้ง
                    (ข) เป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
                    (ค) เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปีการศึกษา
                    (ง) เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปี

  ลักษณะต้องห้ามของผู้สมัคร ส.ส. มาตรา 102
               1. ติดยาเสพติดให้โทษ
               2. เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
               3. เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตาม
                    มาตรา 100(1) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
                                   (2) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
                             หรือ(4) วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
               4. ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
               5. เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
หรือความผิดลหุโทษ
               6. เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่า
กระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
               7. เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น
ผิดปกติ
               8. เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำนอกจากข้าราชการการเมือง
               9. เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
               10. เป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงแล้วยังไม่เกินสองปี
               11. เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
               12. เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
แห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
               13. อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา 263

2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
ตอบ หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย  ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
              มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้อง จัดให้อย่าง   ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
              ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิตามวรรค หนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐ เพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
             การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ

              มาตรา 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
             การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน


3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
   
ตอบ   1. วันที่ 24 สิงหาคม  2550  ซึ่งเป็นวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2550
2.  คณะองคมนตรี พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 18 คนคณะองคมนตรี รวมไม่เกิน 19 คน
3. คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดิน ต้องชี้แจงนโยบายที่จะดำเนินการต่อรัฐสภาและต้องจัดทำรายงานแสดงผลการดำเนิน การเสนอต่อรัฐสภาปีละ 1 ครั้ง
4. สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิก จำนวน 480 คน  แบบแบ่งเขต 400 คน  แบบสัดส่วน 80 คน  จังหวัดใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ไม่เกิน 3 คน ให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง แต่ถ้ามีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกิน 3 คนให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้งแต่ละเขตมีสมาชิกได้ 3 คน

4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย
ตอบ   เราต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เนื่องจากเป็นสิ่งสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวันของทุกๆคน และรัฐธรรมนูญคือกฎหมายสูงสุดในประเทศไทย เราเป็นประชาชนคนไทย ควรจะมีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายสูงสุดของประเทศ เพื่อที่จะได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อตกลง ที่คนไทยต้องทำร่วมกัน เพื่อที่จะได้อยู่ร่วมกันได้ มีผลประโยชน์ร่วมกัน และต้องปฏิบัติหน้าที่ของตัวเองที่พึงกระทำ เพื่อที่จะได้รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง และเป็นหน้าที่ที่ทุกคนจะต้องรู้เพื่อประโยชน์ของตัวเอง

5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไม
ตอบ   ในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดิฉันคิดว่าไม่ควรแก้ไขเพราะว่าตอนนี้รัฐธรรมนูญก็เป็นกฎหมายสูงสุดที่สามารถบังคับใช้ได้ มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และทุกมาตราก็ให้สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ความเท่าเทียมกันแก่ประชาชนคนไทยทุกคน และหากมีการแก้ไขอีกก็จะมีความขัดแย้งขึ้นอีก เพราะอีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องการผลประโยชน์แก่ตนเอง จึงทำให้ประชาชนเดือดร้อนทั่วประเทศ
   
6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว
ตอบ   ไม่มีความมั่นคงหากอำนาจทั้งสามขาดสมดุล เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นคิดว่าเกิดจากการที่ไม่ยอมรับฟังเหตุผลซึ่งกันและกัน   ผู้ที่ถือกฎหมายไม่ทำตนเป็นกลาง   โดยส่วนมากจะนึกถึงแต่ประโยชน์ส่วนตน    ทำหน้าที่ของตนเองไม่เต็มที่อีกทั้งเพราะมั่วแต่คอยขัดขวางการทำงานของอีกฝ่าย  การประชุมสภาแต่ละครั้งก็มีการทะเลาะกันระหว่างประชุมและมีการประท้วงเพื่อประโยชน์ของตน อีกทั้งยังมีการแทรกแซงอำนาจกันจากปัญหาต่างๆมากมาย  บ้านเมืองไม่มีการพัฒนาขึ้น  เศรษฐกิจถดถอยลง  จึงมีความเห็นว่าไม่มีความมั่นคงที่จะรักษาเสถียรภาพต่อการบริหารบ้านเมือง 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น