วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1

ให้นักศึกษาค้นหาคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหาให้มากที่สุดแล้วเขียนลงในกิจกรรมที่ 1 ของนักศึกษา อย่างน้อยคนละ 10 ชื่อ
นิยามของคำว่า " อสังหาริมทรัพย์ "

อสังหาริมทรัพย์ คือ ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวรหรือประกอบเป็นอัน เดียวกับที่ดินนั้น และหมายความรวมถึงทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดิน หรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย

นิยามของคำว่า " สังหาริมทรัพย์"

สังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น รถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้า และเครื่องประดับ ส่วนใหญ่แล้วสังหาริมทรัพย์จะเสื่อมมูลค่าลงอย่างรวดเร็ว โดยมีข้อยกเว้นก็แต่ที่เป็นของสะสมพิเศษ


นิยามของคำว่า " สัญญาจำนอง"

สัญญาจำนองคือ สัญญาซึ่งบุคคลหนี่ง เรียกว่า  ผู้จำนอง   เอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจำนอง  เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้  โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้รับจำนอง   แต่ต้องจดทะเบียนจำนองกับพนักงาน เจ้าหน้าที่ (หมายถึงการจดทะเบียนจำนอง    สำนักงานที่ดินของเขต  ของสาขาหรือของจังหวัด ที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่)  

นิยามของคำว่า " สัญญาจำนำ"

สัญญาจำนำ คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนำ ส่งมอบสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง  เป็นผู้ครอบครองเรียกว่า ผู้รับจำนำ เพื่อประกันการชำระหนี้ ทรัพย์สินที่จำนำได้คือ ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนที่ ได้ เช่น    วิทยุ โทรทัศน์ ช้าง ม้า โค กระบือ และเครื่องทองรูปพรรณ สร้อย แหวน เพชร เป็นต้น 


นิยามของคำว่า " สัญญาเช่าทรัพย์"

สัญญาเช่าทรัพย์ คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ให้เช่า ตกลงให้บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้เช่า ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น

นิยามของคำว่า " จำเลย"

จำเลย หมายถึง บุคคลซึ่งถูกฟ้องต่อศาลแล้วโดยข้อหาว่าได้กระทำความผิด และในการจับกุมเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดพนักงาน สอบสวนต้องถามปากคำเด็ก หรือเยาวชนให้เสร็จภายในเวลา24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่เด็กหรือเยาวชนนั้นไปถึงสถานที่ทำการของพนักงานสอบสวน เมื่อถามปากคำแล้ว พนักงานสอบสวนต้องส่งเด็ก หรือเยาวชน นั้นไป ควบคุมที่สถานพินิจฯ และพนักงานอัยการจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลภายใน30 วัน นับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชนถูกจับกุม ยกเว้นกรณี มีการขอผัดฟ้อง

นิยามของคำว่า " ผู้ต้องหา"

ผู้ต้องหา หมายถึง บุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดตามกฎหมายอาญาในชั้นสืบสวน สอบสวน  ในกรณีที่กระทำความผิดอาญาแผ่นดิน ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะแต่งตั้งทนายความเข้าว่าต่างแก้ต่างได้  ในกรณีที่เป็นความผิดอาญาต่อส่วนตัว  เมื่อถูกฟ้องต่อศาลผู้ต้องหาจะตกอยู่ในสถานภาพเป็นจำเลยในคดี ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะแต่งตั้งทนายความเข้าว่าต่างแก้ต่างได้ บุคคลที่ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาแผ่นดินหรือตกเป็นจำเลยในคดีอาญาส่วนตัวย่อมมีสิทธิที่จะขอประกันตัวในระหว่างการพิจารณาคดีได้ 

นิยามของคำว่า " การออกหมายจับ"

การออกหมายจับ หมายถึง กรณีที่ไม่สามารถออกหมายเรียกได้ หรือกรณีผู้ต้องหาได้รับหมายเรียกแล้วไม่มาศาลโดยไม่มีเหตุอันควรที่จะอ้างตามกฎหมายได้ หรือในกรณีจำเป็นตามลักษณะแห่งคดีที่จะต้องออกหมายจับ ผู้ที่เกี่ยวข้องขอให้ออกหมายจับได้ การจับกุมตัวจะต้องมีเจ้าหน้าที่อย่างน้อย 2 คนขึ้นไปอยู่ร่วมกันในขณะทำการจับกุมและต้องแสดงหมายจับทุกครั้งที่ทำการจับกุม เมื่อจับกุมตัวได้แล้วจะต้องทำการสอบปากคำให้เสร็จสิ้นภายใน 12 ชั่วโมง  


นิยามของคำว่า " ใบจอง "

ใบจอง คือหนังสือที่ทางราชการออกให้เพื่อเป็นการแสดงความยินยอมให้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินเป็นการชั่วคราว ซึ่งใบจองนี้จะออกให้แก่ราษฎรที่ทางราชการได้จัดที่ดินให้ทำกินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งทางราชการจะมีประกาศเปิดโอกาสให้จับจองเป็นคราว ๆ ในแต่ละท้องที่และผู้ต้องการจับจองควรคอยฟังข่าวของทางราชการ

นิยามของคำว่า " ใบไต่สวน "

ใบไต่สวน คือหนังสือแสดงการสอบสวนเพื่อออกโฉนดที่ดินเป็นหนังสือแสดงให้ทราบว่าได้มีการสอบสวนสิทธิในที่ดินแล้ว สามารถจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายที่ดินได้ ใบไต่สวนไม่ใช่หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ แต่สามารถจดทะเบียนโอนให้กันได้


อ้างอิง
สมชาย   พงศ์พัฒนาศิลป์  และ เผ่าพันธ์  ชอบน้ำตาล . (2554) . ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ . กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด  เจริญรัฐการพิมพ์ .


บทที่ 6 เรื่องสัญญา (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://hlinzaii.50webs.com/law6_3.htm : เข้าถึงเมื่อวันที่ 07 พฤศจิกายน 2555


นิยามศัพท์กฎหมาย (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.lawamendment.go.th/word_last1.asp  : เข้าถึงเมื่อวันที่ 07 พฤศจิกายน 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น